วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555




การทำงานของระบบ Network และ Internet







โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1.เครือข่ายเฉพาะที่ (Local Area Network : LAN)
          เป็นเครือข่ายที่มักพบเห็นกันในองค์กรโดยส่วนใหญ่ลักษณะของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นวง LAN จะอยู่ในพื้นที่ใกล้ๆกัน เช่น อยู่ภายในอาคาร หรือหน่วยงานเดียวกัน

2.เครือข่ายเมือง (Metropolitan Area Network : MAN)
          เป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงใหญ่ขึ้น ภายในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง เช่น ในเมืองเดียวกัน เป็นต้น

3.เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network : WAN)
          เป็นเครือข่ายที่ใหญ่ขึ้นไปอีกระดับ โดยเป็นการรวมเครือข่ายทั้ง LAN และ MAN มาเชื่อมต่อกันเป้นเครือข่ายเดียว ดังนั้นเครือข่ายนี้จึงครอบคลุมพื้นที่กว้าง โดยมีการควบคุมไปทั่วประเทศ หรือทั่วโลก เช่น อินเทอร์เน็ต ซึ่งถือเป้นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มมีใครเป็นเจ้าของ

รูปแบบโครงสร้างของเครือข่าย (Network Topology)

           การจัดการระบบทำงานของเครือข่าย มีรูปแบบโครงสร้างของเครือข่าย อันเป็นการจัดวางคอมพิวเตอร์และการเดินสายสัญญาณคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายรวมถึงหลักการไหลเวียนข้อมูลในเครือข่ายด้วย โดยแงโครงสร้างเครือข่ายหลัก 4 แบบคือ

1.เครือข่ายแบบดาว
2.เครือข่ายแบบวงแหวน
3เครือข่ายแบบบัส
4.เครือข่ายแบบต้นไม้


รูปแบบโครงสร้างของเครือข่าย (Network Topology) ทั้ง 4 รูปแบบ




1.แบบดาว ป็นแบบการต่อสายเชื่อมโยงโดยนำสถานีต่างๆมาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลาง การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้วยการติตอผ่านทางวงจรของหน่วยสลับสายกลาง การทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงคล้ายกับศูนย์กลางของการติดต่อวงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่างๆที่ต้องการติดต่อกัน  

2.แบบวงแหวน เป็นแบบที่สถานีเครือข่ายทุกสถานีจะต้องเชื่อมต่อกันกับเครื่องขยายสัญญาณของตัวเองโดยจะมีการเชื่อมโยงสัญญาณของทุกสถานีเข้าด้วยกันเป็นวงแหวน  เครื่องขยายสัญญาณเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการรับข้อมูลจากเครื่องวคอมพิวเตอร์ของตัวเองหลังจากเครื่องขยายสัญญาณตัวก่อนหน้าและส่งข้อมุลตอ่ไปยังเครื่องขยายสัญญาณตัวถัดไปเรื่อยๆเป็นวงหากข้อมูลที่ส่งเป็นสถานีใดเครื่องขยายสัญญาณของสถานีนั้นก็รับและส่งให้กับสถานีนั้นเครื่งองขยายสัญญาณจึงต้องมีการตรวจข้อมุลที่ได้รับว่าเป็นเจ้าของตนเองหรือไม่ด้วย  ถ้าใช่ก็รับไว้ถ้าไม่ใช่ก็ส่งต่อไป  

3.เครือข่ายแบบบัส (Bus Network) เป้นเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆด้วยสายเคเบิ้ลยาวต่อเนื่องไปเรื่อยๆโดยจะมีอุปกรณ์ที่เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเลิ้ลในการส่งข้อมูลจะมีคอมพิวเตอรืเพียงตีวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ช่วงเวลาหนึ่งๆการจัดส่งข้อมูลวินี้จะต้องกำหนดวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกันเพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน วิธีการที่ใช้อาจแบ่งเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่สัญญาณที่แตกต่างกันในการติดตั้งเครือข่ายแบบบัสนี้คอมพิวเตอรืและอุปกรณ์แต่ละชนิดถูกเชื่อมต่อด้วยสายเคเบอิลเพี่ยงเสินเดียวซึ่งจะใช้ในเคริอข่ายขนาดเล็กในองค์ที่มีคอมพิวเอตร์ใช้ไม่มากนัก   


4.แบบต้นไม้ (Tree Network) เป็นเครือข่ายที่ผสมผสานโครงสร้างเครือข่ายแบบต่างๆเข้าด้วยกับเป็นเครื่อข่ายขนาดใหญ่ การจัดส่งข้อมูลสามารถส่งไปถึงได้ทุกสถานีการสื่อสารข้อมูลจะผ่านตัวกลางไปยังสถานีอื่นๆได้ทั้งหมด เพราะทุกสถานีจะอยู่บนทางเชื่อม 

        ระบบเครือข่ายแบ่งตามลักษณะการทำงานเป็นอ 3 ประเภทคือ
1.ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง
2.ระบบเครือข่ายแบบ Peer-to Peer
3..ระบบเครือข่ายแบบ Client/Server


1.ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง         
   
    เป็นระบบมีเครื่องหลักมีเครื่องเดียวที่ใช้ในการประมวลผล ตั้งแตอยู่ที่ศูนย์กลางและมีการเชื่อมต่อไปยัง  เครื่องเทอร์มินอลที่อยู่รอบๆ โดนส่งคำสั่งต่างๆไปประมวลผลที่เคื่องกลางที่มักเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม

2.ระบบเครือข่ายแบบ Peer-to Peer            
    จะเป็นการเปรียบเทียบจะมีการเท่าเทียมกันได้ เช่น การใช้เครื่องพิมพ์ หรืแฟ้มข้อมูลร่วมกันในเครือข่าย คือจะต้องมีทรัพยากรภายในของ

3.ระบบเครือข่ายแบบ Client/Server             
    ระบบClient/Server สนับสนุนให้มีเครื่องลูกข่ายได้เป็นจำนานมาก และสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายสถานี ทำงานให้กับเครื่อง Server ที่มีบริการเป็นศูนย์กลางอย่างน้อย 1 เครื่องและมีการบริหารทรัพยากรต่างๆ จากส่วนกลาง             
    นอกจากนี้เครื่องลูกเครือข่ายยังต้องมีความสามารถในการประมวลผล และมีพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลท้องถิ่นเป็นของตนเอง
                                                                                         


ซอฟต์แวร์ Software

             ซอฟต์แวร์ คือ การลำดับขั้นตอนการทำงานของคำสั่งที่จะทำหน้าที่สั่งคอมพิวเตอร์ว่าให้ทำอะไรเป็นชุดของโปรแกรมหลายๆโปรแกรมนำมารวมกันให้สามารถทำงานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ต้องการเรามองไม่เห็นหรือสัมผัสไม่ได้แต่เราสามารถสร้างจัดเก็บ และนำมาใช้งานหรือเผยแพร่ได้ด้วยสื่อหลายชนิดเช่น แผ่นบันทึก แผ่นซีดี แฟล็ชไดร์ฟ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น

หน้าที่ของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟแวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟแวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท

ประเภทของซอฟต์แวร์
ซอฟแวร์แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
ซอฟแวร์ระบบ (System Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์(Application Software)
และซอฟแวร์ใช้งานเฉพาะ

1.ซอฟท์แวร์ระบบ  (System Software)
        ซอฟท์แวร์ระบบเป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิดสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟแวร์ระบบคือ ดำเนินงานพื้นฐานต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผง แป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน้าความจำสำรอง

หน้าที่ของซอฟต์แวร์ระบบ

1)  ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่อยส่งออก เช่น รับรู้การกกดแป้นต่างๆ บนแผงแป้นอักขระส่ง
รหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้าและส่งออกอื่นๆ เช่น เมาส์ 
ลำโพงเป็นต้น

2)  ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก หรือ
ในทำนองกลับกันคือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก

3) ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การ
ขอดูรายการในสาระบบ (directory) ในแผ่นบันทึกการทำสำเนาแฟ้มข้อมูล
ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็นระบบปฏิบัติการและตัวแปลภาษา

ประเภทของซอฟต์แวร์ระบบ
ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1.ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS)
2.ตัวแปลภาษ
1. ระบบปฏิบัติการหรือที่เรียกย่อๆว่า โอเอส (Operrating System : OS) เป็น
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่น ดอส วินโดวส์ ยูนิกซ์ ลีนุกซ์ และแมคอินทอช เป็นต้น

2. วินโดวส์ (Windows) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส โดยให้ผู้ใช้สามารถสั่งงานได้
จากเมาส์มากขึ้นแทนการใช้แผงแป้นอักขระเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ยังสามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้ โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างบนจอภาพ การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก ผู้ใช้งานสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้เพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฏยันจอภาพทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย
ระบบปฏิบัติการวินโดวส์จึงได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน

3.ยูนิกซ์ (Unix) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด (Open System) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้องผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่งหรือใช้อุปกรณ์ที่มียี่ห้อเดียวกัน ยูนิกซ์ยังถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองการใช้งานในลักษณะที่มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้ (multiusers)และสามารถทำงานได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกันในลักษณะที่เรียกว่า ระบบหลายภารกิจ(multitasking) ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จึงนิยมใช้กับเครื่องที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เพื่อใช้งานร่วมกันหลายๆเครื่องพร้อมกัน

4.ลีนุกซ์ (linux) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาจากระบบยูกนิกซ์เป็นระบบซึ่งมีการแจกจ่าย
โปรแกรมต้นฉบับให้นักพัฒนาช่วยกันพัฒนาคุณสมบัติของระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เป็นที่นิยมกันมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากมีโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์จำนวนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในกลุ่มของกูส์นิว (GNU) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทแจกฟรี (Free Ware) ผู้ใช้สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

5.แมคอินทอช (macintosh) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แมคอินทอชส่วนมากนำไปใช้งานด้านกราฟิก ออกแบบและจัดแต่งเอกสารนิยมใช้ในสำนักพิมพ์ต่างๆ
        นอกจากระบบปฏิบัติการที่กล่าวมาแล้วยังมีระบบปฏิบัติการอีกมากเช่นระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันเป็นระบบ เช่นระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์นอกจากนี้ยังมีระบบปฏิบัติการที่ใช้งานเฉพาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่องานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ใรสถาบันการศึกษา


วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555










คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์

                      คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องมือหรืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์คือมีศักยภาพสูงในการคำนวณประมวลผลข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเลข รูปภาพ ตัวอักษร และเสียง


ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์

ส่วนที 1 หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Unit) 
              เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาเชื่อมต่อ ทำหน้าที่ป้อนสัญญาณเข้าสู่ระบบ เพื่อกำหนดให้คอมพิว
              เตอร์ทำงานตามความต้องการ ได้แก่ แป้นอักขระ (Keyboard)

-แผ่นซีดี (CD-Rom)

-ไมโครโฟน (Microphone) เป็นต้น

ส่วนที 2 หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)
              ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวณทั้งทางตรรกะและคณิตศาสตร์ รวมถึงการประมวลข้อมูลตามคำสั่ง
              ที่ได้รับ
ส่วนที่ 3 หน่วยความจำ (Memory Unit)
              ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อเตรียมส่งไปประมวลผลยังหน่วย
              ประมวลผลกลาง เก็บผลลัพธ์ที่ได้จาการประมวลผลแล้วเพื่อเตรียมส่งไปยังหน่วยแสดงผล
ส่วนที่ 4 หน่วยแสดงผล (Output Unit) 
              ทำหน้าที่แสดงข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล หรือผ่านการคำนวณแล้ว
ส่วนที่ 5 อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ (Peripheral Equipment) 
              เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
              ให้มากยิ่งขึ้น เช่น โมเด็ม (modem) แผงวงจรเชื่อมต่อ เครือข่าย เป็นต้น


ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์

1. มีความเร็วในการทำงานสูง สามารถประมวลผลคำสั่งได้รวดเร็วเพียงชั่ววินาที จึงใช้ในงานคำนวณ  
    ต่างๆได้อย่างรวดเร็ว
2. มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ทำงานได้ตลอด 24 ชั่งโมง ใช้แทนกำลังคนได้มาก
3. มีความถูกต้องแม่นยำ ตามโปรแกรมสั่งงานและข้อมูลที่ใช้
4. เก็บข้อมูลได้มาก ไม่เปลืองเนื้อที่เก็บเอกสาร
5. สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว ช่วย 
    อำนวยความสะดวกในการใช้งาน


องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

               ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน ดังนี้

1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หรือส่วนเครื่อง
2.ซอฟแวร์ (Software) หรือส่วนชุดคำสั่ง
3.ข้อมูล (Data)
4.บุคลากร (Peopleware)

                   ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆที่เราสามารถสัมผัสและจับต้องได้ ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 4 ส่วน ดังนี้คือ

1.ส่วนประมวลผล (Processor)
2.ส่วนความจำ (Memory)
3.อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก (Input-Out Devices)
4.อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล (Storage Device)

ส่วนที่1 CPUCPU เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เปรียบเสมือนสมอง มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ประมวนผลและเปรียบเทียบข้อมูล โดยทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดิบและแปลงให้เป็นสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ความสามารถของ ซีพียู นั้น พิจารณาจากความเร็วของการทำงาน การรับส่งข้อมูล อ่านและเขียนข้อมูลในหน่วยความจำ ความเร็วของซีพียูขึ้นอยู่กับตัวให้จังหวะที่เรียกว่า สัญญาณนาฬิกา เป็นความเร็วของจำนวนรอบสัญญาณใน 1 วินาที มีหน่วยเป็น เฮิร์ตซ์(Hertz)เช่น สัญญาณความเร็ว 1 ล้านรอบใน 1 วินาที เทียบเท่าความเร็วสัญญาณนาฬิกา 1 จิกะเฮิร์ตซ์ (1GHz)

ส่วนที่2 หน่วยความจำ (Memory)จำแนกออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
             1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
             2. หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage)


1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)

                     เป็นหน่วยเก็บข้อมูลและคำสั่งต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย

ชุดความจำข้อมูลที่สามารถบอกตำแหน่งที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่ง ข้อมูลจะถูกนำไปเก็บไว้และสามารถนำออกมาใช้ในการประมวลผลภายหลัง โดยCPUทำหน้าที่ในการนำข้อมูลเข้าและนำออกจากหน่วยความจำ
1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory) ต่อ
2. การทำงานของคอมพิวเตอร์ ต้องใช้พื้นที่
3. ของหน่วยความจำในการทำงานประมวลผล 
4. และเก็บข้อมูล ขนาดของความจุของหน่วย
5. ความจำ คำนวณได้จากค่าจำนวนพื้นที่ที่
6. สามารถใช้ในการเก็บข้อมูล จำนวนพื้นที่คือ
7. จำนวนข้อมูล และขนาดของโปรแกรมที่สามารถ
8. เก็บข้อมูลได้สูงสุด พื้นที่หน่วยความจำมีมากจะ
9. ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วมากยิ่งขึ้น


หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)หน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU มีความหมาย

ทางด้านฮาร์ดแวร์ 2 อย่าง คือ
1. ชิป (chip) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
2. ตัวกล่องเครื่องที่มี CPU บรรจุอยู่



1.หน่วยความจำหลัก

               แบ่งได้ 2 ประเภทคือ หน่วยความจำแบบ “แรม” (RAM)และหน่วยความจำแบบ”รอม”(ROM)


1.1 หน่วยความจำแบบ “แรม” (RAM=Random Access Memory)
                 เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูล ข้อมูลหรือแฟ้มข้อมูลจะถูกเก็บไว้ชั่วคราวขณะทำงาน ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำจะอยู่ได้นานจนกว่าจะปิดเครื่อง หรือไม่มีกระแสไฟฟ้าป้อนให้กับเครื่อง เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (Volatile Memory)

ชิปหน่วยความจำแบบรอม (ROM Chip)

หน่วยความจำสำรอง 
(Secondary Memory Unit)หน่วยความจำสำรอง หรือหน่วยเก็บข้อมูลรอง เป็นหน่วยเก็บที่สามารถรักษาข้อมูลได้ตลอดไปหลังจากปิดเครื่องคอมพิมเตอร์แล้ว 


หน่วยความจำรองมีหน้าที่หลักคือ

1.ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือสำรองข้อมูลเพื่อใช้ในอนาคต
2.ใช้ในการเก็บข้อมูล โปรแกรมไว้อย่างถาวร
3.ใช้เป็นสื่อในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง



ประโยชน์ของหน่วยความจำสำรอง

                      หน่วยความจำรองจะช่วยแก้ปัญหาการสูญหายของข้อมูลอันเนื่องมาจากไฟฟ้าดับเพราะข้อมูลต่างๆที่ส่งเข้ามาประมวลผล เมื่อเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้จะถูกนำไปเก็บในความจำหลักประเภทแรม หากปิดเครื่องหรือมีปัญหาทางไฟฟ้า อาจทำให้ข้อมูลสัญหายจึงจำเป็นต้องมีหน่วยความจำรอง เพื่อนำข้อมูลจากหน่วยความจำแรมมาเก็บไว้ใช้งานในครั้งต่อไป หน่วยความจำประเถทนี้ส่วนใหญ่จะพบในรูปของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลภายนอก เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นบันทึก ชิปดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดี เทปแม่เหล็ก หน่วยความจำแบบแฟลช หน่วยความจำรองนี้ ถึงจะไม่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ยังสามารถทำงานได้ปกติ



ส่วนแสดงผลข้อมูล

                   คือ   ส่วนที่แสดงข้อมูลจากสัญญาณไฟฟ้าในหน่วยประมวลผลกลางให้เป็นรูปแบบที่คนเราสามารถเข้าใจได้ อุปกรณ์ที่แสดงผลข้อมูลได้แก่ 

จอภาพ (Monitor) 
เครื่องพิมพ์(Printer)
เครื่องพิมพ์ภาพ Ploter และ 
ลำโพง (Speaker) เป็นต้น               



บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (PEOPLEWARE)              


                          หมายถึง คนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคุมให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างราบรื่น อาจจะประกอบด้วยคนเพียงคนเดียว หรือ หลายคนช่วยกันรับผิดชอบโครงสร้างของหน่วยงานคอมพิวเตอร์ 


ประเภทของบุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (PEOPLEWARE)

1. ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน 
2. ฝ่ายเกี่ยวกับโปรแกรม 
3. ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการ 


ประเภทของบุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (PEOPLEWARE)

1. ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน 
2. ฝ่ายเกี่ยวกับโปรแกรม 
3. ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการ 


บุคลากรในหน่วยงานคอมพิวเตอร์

1. หัวหน้าหน่วยงานคอมพิวเตอร์ (EDP Manager)
2. หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และวางแผนระบบงาน (System Analyst หรือ SA)
3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
4. ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer Operator)
5. พนักงานจัดเตรียมข้อมูล (Data Entry Operator)