วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555




การทำงานของระบบ Network และ Internet







โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1.เครือข่ายเฉพาะที่ (Local Area Network : LAN)
          เป็นเครือข่ายที่มักพบเห็นกันในองค์กรโดยส่วนใหญ่ลักษณะของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นวง LAN จะอยู่ในพื้นที่ใกล้ๆกัน เช่น อยู่ภายในอาคาร หรือหน่วยงานเดียวกัน

2.เครือข่ายเมือง (Metropolitan Area Network : MAN)
          เป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงใหญ่ขึ้น ภายในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง เช่น ในเมืองเดียวกัน เป็นต้น

3.เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network : WAN)
          เป็นเครือข่ายที่ใหญ่ขึ้นไปอีกระดับ โดยเป็นการรวมเครือข่ายทั้ง LAN และ MAN มาเชื่อมต่อกันเป้นเครือข่ายเดียว ดังนั้นเครือข่ายนี้จึงครอบคลุมพื้นที่กว้าง โดยมีการควบคุมไปทั่วประเทศ หรือทั่วโลก เช่น อินเทอร์เน็ต ซึ่งถือเป้นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มมีใครเป็นเจ้าของ

รูปแบบโครงสร้างของเครือข่าย (Network Topology)

           การจัดการระบบทำงานของเครือข่าย มีรูปแบบโครงสร้างของเครือข่าย อันเป็นการจัดวางคอมพิวเตอร์และการเดินสายสัญญาณคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายรวมถึงหลักการไหลเวียนข้อมูลในเครือข่ายด้วย โดยแงโครงสร้างเครือข่ายหลัก 4 แบบคือ

1.เครือข่ายแบบดาว
2.เครือข่ายแบบวงแหวน
3เครือข่ายแบบบัส
4.เครือข่ายแบบต้นไม้


รูปแบบโครงสร้างของเครือข่าย (Network Topology) ทั้ง 4 รูปแบบ




1.แบบดาว ป็นแบบการต่อสายเชื่อมโยงโดยนำสถานีต่างๆมาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลาง การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้วยการติตอผ่านทางวงจรของหน่วยสลับสายกลาง การทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงคล้ายกับศูนย์กลางของการติดต่อวงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่างๆที่ต้องการติดต่อกัน  

2.แบบวงแหวน เป็นแบบที่สถานีเครือข่ายทุกสถานีจะต้องเชื่อมต่อกันกับเครื่องขยายสัญญาณของตัวเองโดยจะมีการเชื่อมโยงสัญญาณของทุกสถานีเข้าด้วยกันเป็นวงแหวน  เครื่องขยายสัญญาณเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการรับข้อมูลจากเครื่องวคอมพิวเตอร์ของตัวเองหลังจากเครื่องขยายสัญญาณตัวก่อนหน้าและส่งข้อมุลตอ่ไปยังเครื่องขยายสัญญาณตัวถัดไปเรื่อยๆเป็นวงหากข้อมูลที่ส่งเป็นสถานีใดเครื่องขยายสัญญาณของสถานีนั้นก็รับและส่งให้กับสถานีนั้นเครื่งองขยายสัญญาณจึงต้องมีการตรวจข้อมุลที่ได้รับว่าเป็นเจ้าของตนเองหรือไม่ด้วย  ถ้าใช่ก็รับไว้ถ้าไม่ใช่ก็ส่งต่อไป  

3.เครือข่ายแบบบัส (Bus Network) เป้นเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆด้วยสายเคเบิ้ลยาวต่อเนื่องไปเรื่อยๆโดยจะมีอุปกรณ์ที่เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเลิ้ลในการส่งข้อมูลจะมีคอมพิวเตอรืเพียงตีวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ช่วงเวลาหนึ่งๆการจัดส่งข้อมูลวินี้จะต้องกำหนดวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกันเพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน วิธีการที่ใช้อาจแบ่งเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่สัญญาณที่แตกต่างกันในการติดตั้งเครือข่ายแบบบัสนี้คอมพิวเตอรืและอุปกรณ์แต่ละชนิดถูกเชื่อมต่อด้วยสายเคเบอิลเพี่ยงเสินเดียวซึ่งจะใช้ในเคริอข่ายขนาดเล็กในองค์ที่มีคอมพิวเอตร์ใช้ไม่มากนัก   


4.แบบต้นไม้ (Tree Network) เป็นเครือข่ายที่ผสมผสานโครงสร้างเครือข่ายแบบต่างๆเข้าด้วยกับเป็นเครื่อข่ายขนาดใหญ่ การจัดส่งข้อมูลสามารถส่งไปถึงได้ทุกสถานีการสื่อสารข้อมูลจะผ่านตัวกลางไปยังสถานีอื่นๆได้ทั้งหมด เพราะทุกสถานีจะอยู่บนทางเชื่อม 

        ระบบเครือข่ายแบ่งตามลักษณะการทำงานเป็นอ 3 ประเภทคือ
1.ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง
2.ระบบเครือข่ายแบบ Peer-to Peer
3..ระบบเครือข่ายแบบ Client/Server


1.ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง         
   
    เป็นระบบมีเครื่องหลักมีเครื่องเดียวที่ใช้ในการประมวลผล ตั้งแตอยู่ที่ศูนย์กลางและมีการเชื่อมต่อไปยัง  เครื่องเทอร์มินอลที่อยู่รอบๆ โดนส่งคำสั่งต่างๆไปประมวลผลที่เคื่องกลางที่มักเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม

2.ระบบเครือข่ายแบบ Peer-to Peer            
    จะเป็นการเปรียบเทียบจะมีการเท่าเทียมกันได้ เช่น การใช้เครื่องพิมพ์ หรืแฟ้มข้อมูลร่วมกันในเครือข่าย คือจะต้องมีทรัพยากรภายในของ

3.ระบบเครือข่ายแบบ Client/Server             
    ระบบClient/Server สนับสนุนให้มีเครื่องลูกข่ายได้เป็นจำนานมาก และสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายสถานี ทำงานให้กับเครื่อง Server ที่มีบริการเป็นศูนย์กลางอย่างน้อย 1 เครื่องและมีการบริหารทรัพยากรต่างๆ จากส่วนกลาง             
    นอกจากนี้เครื่องลูกเครือข่ายยังต้องมีความสามารถในการประมวลผล และมีพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลท้องถิ่นเป็นของตนเอง
                                                                                         


ซอฟต์แวร์ Software

             ซอฟต์แวร์ คือ การลำดับขั้นตอนการทำงานของคำสั่งที่จะทำหน้าที่สั่งคอมพิวเตอร์ว่าให้ทำอะไรเป็นชุดของโปรแกรมหลายๆโปรแกรมนำมารวมกันให้สามารถทำงานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ต้องการเรามองไม่เห็นหรือสัมผัสไม่ได้แต่เราสามารถสร้างจัดเก็บ และนำมาใช้งานหรือเผยแพร่ได้ด้วยสื่อหลายชนิดเช่น แผ่นบันทึก แผ่นซีดี แฟล็ชไดร์ฟ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น

หน้าที่ของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟแวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟแวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท

ประเภทของซอฟต์แวร์
ซอฟแวร์แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
ซอฟแวร์ระบบ (System Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์(Application Software)
และซอฟแวร์ใช้งานเฉพาะ

1.ซอฟท์แวร์ระบบ  (System Software)
        ซอฟท์แวร์ระบบเป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิดสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟแวร์ระบบคือ ดำเนินงานพื้นฐานต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผง แป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน้าความจำสำรอง

หน้าที่ของซอฟต์แวร์ระบบ

1)  ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่อยส่งออก เช่น รับรู้การกกดแป้นต่างๆ บนแผงแป้นอักขระส่ง
รหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้าและส่งออกอื่นๆ เช่น เมาส์ 
ลำโพงเป็นต้น

2)  ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก หรือ
ในทำนองกลับกันคือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก

3) ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การ
ขอดูรายการในสาระบบ (directory) ในแผ่นบันทึกการทำสำเนาแฟ้มข้อมูล
ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็นระบบปฏิบัติการและตัวแปลภาษา

ประเภทของซอฟต์แวร์ระบบ
ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1.ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS)
2.ตัวแปลภาษ
1. ระบบปฏิบัติการหรือที่เรียกย่อๆว่า โอเอส (Operrating System : OS) เป็น
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่น ดอส วินโดวส์ ยูนิกซ์ ลีนุกซ์ และแมคอินทอช เป็นต้น

2. วินโดวส์ (Windows) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส โดยให้ผู้ใช้สามารถสั่งงานได้
จากเมาส์มากขึ้นแทนการใช้แผงแป้นอักขระเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ยังสามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้ โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างบนจอภาพ การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก ผู้ใช้งานสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้เพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฏยันจอภาพทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย
ระบบปฏิบัติการวินโดวส์จึงได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน

3.ยูนิกซ์ (Unix) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด (Open System) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้องผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่งหรือใช้อุปกรณ์ที่มียี่ห้อเดียวกัน ยูนิกซ์ยังถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองการใช้งานในลักษณะที่มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้ (multiusers)และสามารถทำงานได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกันในลักษณะที่เรียกว่า ระบบหลายภารกิจ(multitasking) ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จึงนิยมใช้กับเครื่องที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เพื่อใช้งานร่วมกันหลายๆเครื่องพร้อมกัน

4.ลีนุกซ์ (linux) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาจากระบบยูกนิกซ์เป็นระบบซึ่งมีการแจกจ่าย
โปรแกรมต้นฉบับให้นักพัฒนาช่วยกันพัฒนาคุณสมบัติของระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เป็นที่นิยมกันมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากมีโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์จำนวนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในกลุ่มของกูส์นิว (GNU) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทแจกฟรี (Free Ware) ผู้ใช้สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

5.แมคอินทอช (macintosh) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แมคอินทอชส่วนมากนำไปใช้งานด้านกราฟิก ออกแบบและจัดแต่งเอกสารนิยมใช้ในสำนักพิมพ์ต่างๆ
        นอกจากระบบปฏิบัติการที่กล่าวมาแล้วยังมีระบบปฏิบัติการอีกมากเช่นระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันเป็นระบบ เช่นระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์นอกจากนี้ยังมีระบบปฏิบัติการที่ใช้งานเฉพาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่องานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ใรสถาบันการศึกษา